รายงานการทำงาน




1. ชื่อเรื่อง: อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยยุค 4.0
                   จากการศึกษาหาข้อมูลของ วัฒนธรรมไทย 4.0 ที่ล้วนแล้วแต่จะพูดถึงความเจริญเติบโตที่ยั่งยืน และความมั่นคง ราวกับว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จะสามารถขับเคลื่อนทุกๆ ด้านที่สำคัญของไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือทรัพยากรมนุษย์ของไทยให้เดินหน้าไปพร้อมกันทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถครอบคลุมทุกๆ ด้าน ทุกๆ ส่วนของไทยได้ ในฐานะของนักศึกษาที่มีความสนใจในด้านภาพยนตร์แล้ว จึงมีข้อสงสัยว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลมากหรือน้อยต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย และอย่างไร จะช่วยพัฒนาให้วงการหนังไทยไปข้างหน้า หรือยังอยู่ที่เดิม ซึ่งปัจจัยหลายๆ อย่างที่ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ล้วนแล้วแต่สามารถส่งผลทั้งโดยตรง และทางอ้อมต่อวงการหนังไทยทั้งสิ้น

2. วัตถุประสงค์ของงาน:
            ต้องการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการทำชิ้นงานนี้ต่อคนในวงการหนังทุกคนหรือแม้แต่กลุ่มบุคคลที่กำลังศึกษา หรือกำลังตัดสินใจที่จะก้าวขาเข้ามาในวงการอุตสาหกรรมนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ อาจเป็นการคาดคะเนความเสี่ยง หากว่าผลของการศึกษาออกมาในทางลบ หรืออาจช่วยเพิ่มกำลังใจให้วงการคนทำหนังต่อไปได้ หากว่าผลของการศึกษามีแนวโน้มพัฒนามากยิ่งขึ้น

3. ระยะเวลา/งบประมาณ: ระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฏาคม พ.ศ. 2560)

4. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
            สำหรับการพิจารณาแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการทำงาน จะต้องคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง ชัดเจน และมีความเป็นปัจจุบัน ทั้งจากเอกสาร หนังสือ จดหมายเหตุ เว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ตลอดจนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จริงๆ 
            การวางแผนการทำงาน เป็นไปอย่างมีระเบียบและชัดเจน มีการจดบันทึกแผนการทำงานทุกขั้นตอน แบ่งเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ คือ ใช้เวลา 1 เดือนแรก (พฤษภาคม) ค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นทางลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือ เอกสาร และจดหมายเหตุ เป็นต้น โดยการใช้บริการจากห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต และหอภาพยนตร์ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในเดือนที่ 2 (มิถุนายน) ค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นทางเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์หลักของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเว็บบล็อกต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อ และในเดือนที่ 3 (กรกฏาคม) เป็นการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย คือ นาย ศศิน นิคมภักดิ์ ผู้ซึ่งมีอาชีพรับจ้างอิสระ ทำหน้าที่ในกองถ่ายภาพยนตร์มาเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นจริงจากผู้มีประสบการณ์ 
             ก่อนที่จะนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มานำเสนอ ก็มีการพิจารณาและคัดเลือกอย่างถี่ถ้วน โดยจะคำนึงถึงความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลเป็นหลัก สำหรับแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร จะต้องคัดเลือกแหล่งที่มีข้อมูลครบถ้วน คณะผู้จัดทำเอกสารต้องเชื่อถือได้ ควรเป็นองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์อย่างจริงจัง เปิดเผย หรือควรเป็นผู้เขียนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเฉพาะทาง สำหรับข้อมูลเว็บไซต์ จะต้องคัดเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ควรเป็นเว็บไซต์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ จะคัดเลือกเว็บไซต์โดยการใช้วิธีการค้นหาขั้นสูงของเว็บไซต์ Google เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ที่เป็นทางการ และสำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีการคัดเลือกข้อมูลจะมาจากการตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์ เน้นคำถามที่ตรงกับหัวข้อ ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับเช่นกัน
             และสำหรับการนำเสนอ เผยแพร่ต่อผู้อ่าน เพื่อให้ง่าย และสะดวกในยุคเทคโนโลยีนั้น จึงทำการนำเสนอในรูปแบบของเว็บบล็อก จึงง่ายต่อการเข้าถึงเนื้อหาที่จัดทำ มีการรวบรวมข้อมูลไว้เบื้องต้น และแนบลิ้งค์วิดีโอสัมภาษณ์ไว้เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย จึงมีการแนบรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ตลอดจนมีการตกแต่งเว็บบล็อกให้มีความน่าสนใจด้วยเช่นกัน

5. ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
             ในการทำงานจะมีอุปสรรคอยู่ เช่น การค้นคว้าข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีแหล่งข้อมูลที่จดบันทึกที่มา และเหตุการณ์ที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาพยนตร์อยู่น้อยแห่ง จึงต้องค้นคว้าเพิ่มจากหนังสือที่มีการกล่าวถึง หรืออ้างอิงเหตุการณ์ดังกล่าวบ้าง เพื่อรายละเอียดเนื้อหาที่รอบด้าน สำหรับอุปสรรคในการค้นคว้าข้อมูลทางเว็บไซต์ คือการที่มีการบอกรายละเอียดเรื่องราวไม่ครบถ้วน เมื่อเที่ยบเท่ากับข้อมูลลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญก็ต้องใช้เวลาเยอะ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญและผู้สัมภาษณ์มีเวลาที่ไม่ตรงกัน การนัดวันสัมภาษณ์จึงใช้เวลามาก เป็นต้น

6. บรรณานุกรม
                -แหล่งข้อมูลเว็บไซต์
BLOG GANG : hmamui (05 กุมภาพันธ์ 2550). ประวัติภาพยนตร์ไทย..( ตอน1 ) [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hmamui&month=05-02-2007&group=2&gblog=2 (วันที่ค้นข้อมูล : 27  พฤษภาคม  2560).

BLOG GANG : hmamui (11 กุมภาพันธ์ 2550). ประวัติภาพยนตร์ไทย..( ตอน 2 ) [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hmamui&group=2 (วันที่ค้นข้อมูล : 27 พฤษภาคม 2560).

I love Thai Film  (4 มีนาคม  2554). กำเนิดการสร้างภาพยนตร์ในสยาม..[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://ilovethaifilm.wordpress.com/category/คลังความรู้/กำเนิดภาพยนตร์ไทย/ (วันที่ค้นข้อมูล : 27 พฤษภาคม 2560).

            
                  -แหล่งข้อมูลลายลักษณ์อักษร
โดม สุขวงศ์. (สิงหาคม 2555). สยามภาพยนตร์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ลินคอร์น โปรโมชั่น.

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). (พ.ศ. 2527). 25 ปี หอภาพยนตร์แห่งชาติ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ลินคอร์น โปรโมชั่น.

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2540). บทบาทในการบันทึกสังคมของภาพยนตร์ไทย โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.





  สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น