ข้อมูลจาก Website

          


            จากหัวข้อการศึกษา "อุตสาหกรรมหนังไทย ยุค 4.0" ประเด็นแรกที่ต้องการจะนำเสนอ ถือเป็นการกล่าวนำนั่นคือ "ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์ในประเทศไทย" จะกล่าวถึงที่มาที่ไป แหล่งที่มา กำเนิดหนังไทยเรื่องแรก รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

          ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ภาพยนตร์เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วจึงนำมาฉายในลักษณะภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture) ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อาจเป็นเพียงการแสดงหรือมาจากจินตนาการก็ได้ ด้วยความพิเศษที่สามารถนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง จึงทำให้ภาพยนตร์น่าสนใจ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

          ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยเกิดขึ้นในปี พ.. 2439 เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชการที่ 5 เสด็จเยือนสิงคโปร์และชวา เพื่อทอดพระเนตรหนังประเภทที่เรียกว่า Kinestoscope หรือภาพยนตร์แบบถ้ำมองของนาย Thomas Edison และอีกครั้งในปีถัดมา เป็นการฉายให้สาธารณะชนได้ดูเป็นครั้งแรกในสยาม เมื่อ S.G. Marchovsky นำหนังพี่น้องตระกูล Lumiere แบบที่เรียกว่า Cinematograph เข้ามาฉาย โดยจัดฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ บริเวณถนนเจริญกรุง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.. 2440 ในปี พ.. 2447 คณะหนังเร่จากญี่ปุ่นก็นำเข้ามาฉายอีก และได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวบริเวณศาลาเฉลิมกรุง จึงเป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามเริ่มคิดลงทุนบ้าง จึงเกิดโรงภาพยนตร์ซินีมาโตกราฟ บริษัทรูปยนตร์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา เป็นต้น ในยุคนั้น ถือเป็นยุคทองของบริษัทฉายหนังต่างชาติในสยาม มีการสร้างโรงหนังขึ้นตามสถานที่ต่างๆ มีการแจกของรางวัลผู้ชม และมีการโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ อย่างไรก็แล้วแต่ ในยุคนั้นก็ยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดที่ถ่ายทำในไทยเลย

          ในปี พ.. 2462 มีการผูกขาดกิจการภาพยนตร์ เมื่อสองบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมมือกัน ชื่อว่า สยามภาพยนตร์บริษัทจึงทำให้รัฐบาลสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 7 จึงออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่องก่อนได้รับการเข้าฉาย เรียกว่า พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช 2473





          เล่าย้อนไปในปี พ.. 2466 เป็นจุดกำเนิดของภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในไทย และนักแสดงทั้งหมดก็เป็นคนไทย คือเรื่อง นางสาวสุวรรณ เมื่อ Henry McRay ผู้กำกับของ Universal ผู้ช่วยของเขา Gordon Sutherland และตากล้อง Dale Clauson ติดใจกับทัศนียภาพอันสวยงาม จึงเปลี่ยนใจจากที่จะถ่ายหนังสารคดีเป็นถ่ายหนังยาวแทน โดยได้รับความกรุณาจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 6 ทรงอนุญาตและยังอำนวยความสะดวกให้ทีมงานโดยทรงรับสั่งให้กรมรถไฟหลวงและกรมมหรสพหลวงไปร่วมงานกับ McRay ด้วย นักแสดงนำก็เป็นนางรำในกรมมหรสพหลวง คือ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร แสดงเป็น นางสาวสุวรรณ ขุมรามภรตศาสตร์, ตัวโขนพระรามของกรมฯ แสดงเป็น นายกล้าหาญ (ตัวพระเอก) และหลวงภรตกรรมโกศล (มงคล สุมนนัฏ) สมุห์บัญชีของกรมฯ แสดงเป็น นายก่องแก้ว (ตัวโกง) ด้านสถานที่ถ่ายทำ นอกจากจะถ่ายทำกันในกรุงเทพแล้ว ยังเดินทางไปถ่ายที่หัวหิน เพื่อเผยแพร่ทัศนียภาพที่สวยงาม และที่เชียงใหม่ เมื่อถ่ายทำเสร็จก็ได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตร และยังมอบสำเนากรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งเพื่อนำออกฉายในประเทศไทย

          ในปี พ.. 2530-2539 เป็นยุคที่ภาพยนตร์ไทยต้องการตีตลาดวัยรุ่น และยังมีความหลากหลายของหนัง ทั้งหนังบู๊ หนังผี และหนังตลก เป็นต้น




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น