ข้อมูลจากหนังสือ




จากหัวข้อการศึกษา อุตสาหกรรมหนังไทยในยุค 4.0” ประเด็นที่สอง ที่ต้องการนำเสนอเพื่อการเสริมข้อมูลต่อจากระเด็นแรกที่ว่าด้วยเรื่อง ประวัติความเป็นมาของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ในครั้งนี้ จะหยิบยกเรื่อง วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยด้านต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญหลายๆอย่าง ที่ส่งผลต่อทั้งโดยตรงและทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สงคราม สามารถทำลายล้างทุกสิ่งอย่างได้ภายในพริบตาเดียว และยังส่งผลกระทบราวกับคลื่นทะเล เป็นระรอกและกินพื้นที่กว้างขวาง สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยนั้น ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามเช่นกัน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.. 2488 สงครามมหาเอเชียบูรพาได้ยุติลง เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในไทยที่มีความซบเซาลงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อสงครามได้สิ้นสุดลงก็เป็นที่คึกคักอีกครั้งหนึ่ง จากการที่ได้ศึกษาแหล่งข้อมูลประเภทหนังสือ ตำรา ทราบว่า ในช่วง พ.. 2490 มีบริษัทตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในกรุงเทพเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าความเจริญรุ่งเรืองของช่วงนี้ ทำให้ในทศวรรษต่อมาถูกเรียกว่า เป็นยุคแห่งความเฟื่องฟูของวงการภาพยนตร์ไทย นับได้ว่าวิกฤติที่ได้เจอกันมาอย่างหนักหน่วงนั้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยังประโยชน์แก่อุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก


อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักภาพยนตร์ศึกษา จะสังเกตเห็นผลจากความเจริญรุ่งเรื่องนี้ เพราะทำให้เห็นกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ภาพยนตร์ต่างประเทศและภาพยนตร์ศิลปะ จะได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ในกรุงเทพ แต่ในกลุ่มผู้ชมต่างจังหวัด จะนิยมเลือกชมภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิง และเข้าใจง่ายมากกว่า ดังนั้น จึงต้องการย้อนเล่าประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเลือกชมภาพยนตร์ของคนไทยด้วย


ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรุงเทพฯ

ในช่วงนี้ เกิดกิจการในวงการภาพยนตร์อยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กิจการโรงภาพยนตร์ อันเป็นพื้นที่ฉายภาพยนตร์แก่ผู้ชม และกิจการค้าภาพยนตร์ ที่ซื้อภาพยนตร์มาป้อนสู่โรงภาพยนตร์ บริษัท สหศีนีมา จำกัด ถือเป็นบริษัทที่มีอิทธิพลที่สุดในช่วงหลังเปลี่ยนการปกครอง พ.. 2475 ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับการก่อตั้ง ศาลาเฉลิมกรุงในวโรกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี ต่อมาก็ได้มีการรวมกันกับ บริษัท ควีนส์ และบริษัท ภาพยนตร์พัฒนากร จึงทำให้มีอิทธิพลทางธุรกิจมากขึ้น ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กิจการฉายภาพยนตร์จึงเป็นบริษัทการค้าภาพยนตร์ที่ทำหน้าที่ซื้อภาพยนตร์เข้ามาขาย และเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์อีกด้วย สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศ ก็ต้องจัดซื้อกับตัวแทนจำหน่ายจากต่างประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้น ยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายเข้ามาในประเทศไทย

ทว่า นับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.. 2484 สงครามได้นำพาความเสียหายในหลายทางแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อาทิเช่น เมื่อประเทศไทยจับมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้บริษัทการค้าภาพยนตร์ ไม่สามารถจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาฉายได้ เมื่อภาพยนตร์ของตะวันตกไม่สามารถนำมาฉายได้ในประเทศ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่น จึงได้เข้ามามีอำนาจมากขึ้นในเอเชียบูรพา เพื่อหวังนำภาพยนตร์เป็นสื่อทางวัฒนธรรม จึงมีการสร้างบริษัทจำหน่ายภาพยนตร์ญี่ปุ่น สาขากรุงเทพฯ เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน พ.. 2485 เน้นฉายภาพยนตร์ประเภทบันเทิงและข่าวสารเหตุการณ์ โดยเน้นฉายแก่ทหารญี่ปุ่นที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ก่อนจะออกฉายให้ผู้ชมทั่วไปได้เข้าชม

ต่อมาในปี พ.. 2490 ได้มีการก่อตั้งตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในกรุงเทพฯ เช่น อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ และภาพยนตร์เอเชียจากจีน มาเลเซีย เป็นต้น ทำให้เกิดความหลากหลายทั้งวัฒนธรรมและการเลือกชมภาพยนตร์เป็นอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นการเปิดกว้างทางการเลือกชม แต่ก็อยู่บนขีดจำกัดของการแข่งขันทางธุรกิจเช่นกัน ซึ่งความสัมพันธ์ของโรงภาพยนตร์กับตัวแทนจำหน่าย จะต้องเป็นไปตามลักษณะของโรงภาพยนตร์ทำการซื้อขายกับสตูดิโอค่ายใดค่ายหนึ่ง จึงเกิดการผูกขาดการฉายเฉพาะกับสตูดิโอใด สตูดิโอหนึ่งเท่านั้น สามารถทำให้โรงภาพยนตร์สร้างลักษณะเด่นของตนได้




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น